บทที่ 2 เสียง



การเกิดเสียงและการเคลื่อนที่ของเสียง

เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิด มีลักษณะสำคัญดังนี้

  เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เพราะสามารถแสดงสมบัติการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด
และการเลี้ยวเบนได้
 เสียงเป็นคลื่นกล ตามยาวเพราะต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ และอนุภาคตัวกลางสั่นขนานกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น
  คลื่นเสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดไปถึงผู้ฟังได้ เกิดจากการสั่นของตัวกลาง
  โมเลกุลของอากาศในบริเวณที่เป็นส่วนอัดจะมีจำนวนมากกว่าเดิม ทำให้ความดันของอากาศที่บริเวณส่วนอัดมีค่าเพิ่มขึ้น
  โมเลกุลของอากาศในบริเวณที่เป็นส่วนขยายจะมีจำนวนน้อยกว่าเดิม ทำให้ความดันของอากาศที่บริเวณส่วนขยายมีค่าลดลง








ทั้งสองรูปนี้แสดงช่วงอัดและช่วงขยายของคลื่น


สรุปเรื่องเสียง

- เสียงเป็นคลื่นกลตามยาว เพราะอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ซึ่งตัวกลางสั่นขนานกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น 

- อุณหภูมิมาก อัตราเร็วเสียงมาก อุณหภูมิน้อย อัตราเร็วเสียงน้อย
- หูคนปกติได้ยินเสียงความถี่ในช่วง 20-20,000 Hz ต่ำกว่า 20 Hz เรียกว่า คลื่นอินฟราโซนิก
(Infrasonic) เช่น การสื่อสารของช้าง สูงกว่า 20,000 Hz เรียกว่า คลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic)
เช่น เสียงของค้างคาว โลมา วาฬ

- ความดัง ดูจากปริมาณความเข้มเสียง ระดับเสียง ดูจากความถี่เสียง
- คุณภาพเสียง ดูจากรูปคลื่น หรือฮาร์มอนิกส์

- อัตราเร็วเสียงหาจาก V = 331+0.6t
ความถี่บีตส์ หาจาก